"พลาสติกไม่ต้องถูกเผา แค่ตากแดดอยู่เฉย ๆ ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้”

Last updated: 25 มิ.ย. 2563  |  1157 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"พลาสติกไม่ต้องถูกเผา แค่ตากแดดอยู่เฉย ๆ ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้”

อันที่จริง งานวิจัยนี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึงผลร้ายที่ตามมาต่อสุขภาพของผู้บริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารที่บรรจุอยู่ในขวดหรือถุงพลาสติกที่ตากแดด เช่น ในรถยนต์ที่จอดกลางแจ้ง เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (carcinogenic) ได้
.
“ว่าแต่พลาสติกมีเยอะมากขนาดนั้นเลยหรือ?”
.
มนุษย์เราใช้และทิ้งพลาสติกกันในปริมาณมหาศาล โดยน้ำหนักของพลาสติกที่เราผลิตใช้กันในโลกในแต่ละปี รวม ๆ กันแล้วเท่ากับน้ำหนักของคนบนโลกทั้งหมดรวมกัน แค่นับเฉพาะขวดน้ำพลาสติกที่เราใช้กันก็มากมายมหาศาลแล้ว เราซื้อขายขวดพลาสติกกันกว่า 1 ล้านขวดในทุก ๆ 1 นาที โลกผลิตขวด เพท (Polyethylene terephthalate หรือ PET) วินาทีละ 20,000 ขวด เราใช้ขวดน้ำดื่มกันที่ประมาณ 580,000 ล้านขวดต่อปี ซึ่งถ้าเอามาเรียงต่อ ๆ กันเป็นทางแล้วจะยาวกว่ากึ่งหนึ่งของระยะทางจากโลกไปดวงอาทิตย์!
และนี่ก็ยังไม่ได้นับรวมถุงพลาสติกและหลอดพลาสติกที่เราใช้ ๆ กันอย่างไม่บันยะบันยังอีก โลกใช้ถุงพลาสติกประมาณ 5 ล้านล้านใบต่อปี และเป็นการยากที่จะประเมินว่าเราใช้หลอดพลาสติกกันมากมายแค่ไหน มีเด็กนักเรียนในสหรัฐอเมริกาประเมินว่า คนในประเทศเขาใช้หลอดพลาสติกกันวันละ 500 ล้านหลอด และชาวออสเตรเลียใช้หลอดมากกว่า 10 ล้านหลอดต่อวัน
.
ด้วยการใช้ชีวิตที่ติดปีกไปกับความเร่งด่วน รวดเร็ว และการหาซื้ออาหารเครื่องดื่มกินนอกบ้าน คนจีนและคนในแถบเอเชียแปซิฟิก จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ใช้พลาสติกมากเป็นอัตราส่วนสูงที่สุดของโลก แถมยังมีวิธีการจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่ชัดเจนนัก ประเทศไทยก็ติดโพยไปกับเขาด้วย แถมติดหนึ่งในห้าประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงในทะเลและมหาสมุทรมากที่สุดของโลก... ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าจริง ๆ
.
ยิ่งเราใช้พลาสติกกันมากเท่าไหร่ รัฐหรือชุมชนที่เราอยู่อาศัยก็ต้องกำจัดขยะพลาสติกกันมากขึ้นเท่านั้น ทางเลือกที่จะฝังกลบขยะพลาสติกในปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะทุกชุมชนต่างตระหนักถึงปัญหาจากแหล่งฝังกลบจนแทบจะหลีกเลี่ยงกันไปหมดแล้ว ขณะที่การกำจัดโดยการทิ้งลงแม่น้ำแล้วไป โผล่ในทะเล มหาสมุทรให้ถูกประณามระดับประเทศก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน ดังนั้น ทางเลือกที่เหลืออยู่ ซึ่งไม่ควรจะเป็นทางเลือกเลย ก็คือการเผา ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในที่สุด
.
ถ้าเช่นนั้น เราควรนำพลาสติกที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ไม่ต้องผลิตใหม่และไม่ต้องกำจัดทิ้งอย่างนั้นหรือ?
.
ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เองที่คนบนโลกเริ่มรับรู้ถึงปัญหาจากพลาสติก จึงได้มีการคิดค้นวีธีการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ แรก ๆ ก็ทำได้แค่เป็นถุงก๊อบแก๊บหรือถุงขยะสีดำ แต่ปัจจุบันมีการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบที่แปลกใหม่และมีมูลค่ามากขึ้น
.
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีไม่ถึง 20% ของพลาสติกที่ใช้แล้วทั้งหมดถูกนำกลับมาใช้ใหม่ โดยปัญหาในการนำมาใช้ใหม่หลัก ๆ คือ ปัญหาการจัดการกับพลาสติกที่ใช้แล้ว ทั้งในแง่การแยกเก็บออกจากขยะชนิดอื่น ๆ และการแยกชิ้นส่วนหรือชนิดของพลาสติก เช่น ขวดพลาสติกเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง (PE) แต่ฝาของขวดอาจเป็นพลาสติกอีกชนิดหนึ่ง (PET) ซึ่งไม่สามารถนำมาแปรรูปพร้อม ๆ กันได้ รวมไปถึงปริมาณพลาสติกที่ต้องรวบรวมเพื่อนำมาแปรรูป จะให้มีเพียงพอก็ต้องมาจากหลายท้องที่ หลายชุมชน ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ และก็มักจะแพงกว่าการนำส่วนที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซมาผลิตเป็นพลาสติกชิ้นใหม่เลยเสียอีก
.
ดังนั้น การลดการใช้พลาสติก หรือการใช้พลาสติกหลาย ๆ ครั้งก่อนทิ้ง แทนที่จะใช้ถุงพลาสติกหรือหลอดพลาสติกครั้งเดียวแล้วทิ้ง (one-time-use plastics) โดยเริ่มต้นที่ระดับครัวเรือน จึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด เพราะจะช่วยให้ขยะพลาสติกลดลงและไม่ต้องผลิตใหม่อีก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
สุดท้ายนี้ เรา ๆ ท่าน ๆ คงจะได้เข้าใจกันแล้วว่า การใช้พลาสติกมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนจริง ๆ ผู้เขียนจึงใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ช่วย ๆ กัน นะคะ ลดการใช้พลาสติกให้มากที่สุดที่เราแต่ละคนจะช่วยได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ใช้หลาย ๆ ครั้งจนมันใช้ไม่ได้อีก หรือให้ดีที่สุดคือการงดใช้ไปเลย ถ้าต่างคนต่างลด สักวันโลกก็จะลดการใช้และผลิตพลาสติกลงได้จริง ลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกลงบ้าง ลดการกินเม็ดพลาสติกในกุ้ง หอย ปู ปลา แล้วปัญหาต่อมนุษย์ทั้งภัยพิบัติและสุขภาพก็จะทยอยลดลงได้จริงค่ะ!


.
ขอบคุณข้อมูล : SAVE THE CLIMATE
ร่วมหยุดภาวะโลกร้อน กับ KBO EARTH

=============================================================

☎️ สอบถามเพิ่มเติมและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์  Bio- Composter

HOTLINE :  02 800 2570-3, 094-664-9228, 089 556 5720

Website :  www.innopolisone.com

Facebook :  https://urlzs.com/SAbcy

Line Office : https://lin.ee/cegP8cz

#biocomposter  #เครื่องย่อยเศษอาหาร  #เปลี่ยนเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย  #ลดปริมาณเศษอาหาร #เครื่องกำจัดเศษอาหาร #ย่อยเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ย #เครื่องย่อยสลายเศษอาหาร

Powered by MakeWebEasy.com